บทความ : การเพาะเห็ดฟางจากก้อนเห็ดนางฟ้าเก่าบนชั้นวางแบบคอนโด
เห็ดฟาง
Volvariella Volvacea
เรียบเรียงโดย
นายปัฐพงศ์ สิงหพันธ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร
นางสาวกษมา พูลปาน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ
การเพาะเห็ดฟางจากก้อนเห็ดนางฟ้าเก่าบนชั้นวางแบบคอนโด
เห็ดฟาง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Volvariella Volvacea) เป็นเห็ดกินได้ชนิดหนึ่ง มีการเพาะเลี้ยงในแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใช้เป็นส่วนผสมในการประกอบอาหารเอเชียอย่างแพร่หลาย ชื่อเรียกแม้แตกต่างกันไปในหลายประเทศ แต่ยังมีความหมายว่า เห็ดฟาง เหมือนกัน เห็ดฟางมักพบในรูปแบบสด แต่มีพบรูปแบบบรรจุกระป๋องหรืออบแห้งจำหน่ายนอกฤดูเก็บเกี่ยวด้วย
ลักษณะดอกเห็ดอ่อนเป็นรูปทรงไข่มีเปลือกหุ้ม
เมื่อเจริญขึ้น เปลือกหุ้มปริแตก คงเหลือเปลือกหุ้มที่โคนก้าน
ผิวนอกของเปลือกหุ้มส่วนมากมักเปลี่ยนเป็นสีขาวหม่นหรือสีเนื้อ
หมวกเห็ดเมื่อบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลาง 4–10 เซนติเมตร
กลางหมวกมีขนละเอียดสีน้ำตาลดำหรือสีน้ำตาลแดง ครีบสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูอ่อน
ไม่ยึดติดกับก้าน สั้นยาวไม่เท่ากัน ก้านยาว 4–10 เซนติเมตร
เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5–1 เซนติเมตร ผิวสีขาวนวลมีขนสีขาว
เนื้อเป็นเส้นหยาบสีขาวรวมกันแน่น ตรงกลางก้านกลวง สปอร์รูปทรงรี สีชมพู ขนาด 5–6
× 7–9 ไมโครเมตร ผิวเรียบ
เห็ดฟางตามธรรมชาติเจริญเติบโตบนกองฟางข้าวเป็นกลุ่ม 2–6
ดอก และจะถูกเก็บเกี่ยวในระยะที่ยังเจริญไม่เต็มที่
คือยังเป็นตุ่มกลม ๆ ก่อนที่หมวกเห็ดจะผุดออกมา ซึ่งใช้เวลาประมาณ
4–5 วัน เจริญได้ผลดีที่สุดในภูมิอากาศเขตร้อนที่มีฝนตกชุก
เห็ดชนิดนี้ไม่เคยปรากฏประวัติการเพาะปลูกมาก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19
เห็ดฟางมีลักษณะคล้ายกับเห็ดอีกชนิดหนึ่งมากคือเห็ดระโงกหิน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Amanita Phalloides, death cap) ซึ่งเป็นเห็ดพิษ สามารถจำแนกได้ด้วยสีสปอร์ สปอร์ของเห็ดฟางเป็นสีชมพูอ่อน แต่สปอร์ของเห็ดระโงกหินเป็นสีขาว คนจำนวนมากไม่รู้ถึงข้อมูลนี้ เก็บเห็ดระโงกหินที่ขึ้นอยู่ไปกิน โดยเข้าใจว่าเป็นเห็ดฟาง ทำให้เสียชีวิต
ประโยชน์ของเห็ดฟาง
เป็นเห็ดที่มีไขมันต่ำ แคลลอรี่น้อย และไม่มีคลอเรสเตอรอล มีคาร์โบไฮเดรต แคลเซียมฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินบี1 บี2 วิตามินซี นอกจากนี้ยังมี ซีลิเนียม โพแทสเซียม ช่วยต้านมะเร็งลดความดันโลหิต เห็ดฟางยังมีโปรตีนสูงและกรดอะมิโนต่างๆ การทานเห็ดฟางจึงดีต่อสุขภาพ ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยย่อยอาหาร บำรุงโลหิต บำรุงกำลัง บำรุงตับ แก้ร้อนใน แก้ช้ำใน
การนำก้อนเห็ดนางฟ้าเก่ามาใช้เพาะเห็ดฟางนั้น ถือเป็นการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์เพื่อสร้างมูลค่า ซึ่งเป็นแนวทางสู่ ZERO WATSE ในการทำการเกษตร สอดคล้องกับ BCG MODEL ในให้การทำการเกษตรอย่างยั่งยืน
วิธีการเพาะเห็ดฟางแบบคอนโดในตะกร้าพลาสติก
วิธีการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติก เป็นอีกวิธีในการเพาะเห็ดฟางสำหรับผู้สนใจเริ่มต้นทำเพื่อไว้บริโภคเองในครัวเรือนหรือเพื่อศึกษาแล้วต่อยอดเพื่อเพาะเห็ดฟางขาย
เพราะการเพาะเห็ดฟางแบบคอนโดในตะกร้าพลาสติกช่วยลดการใช้พื้นที่ เคลื่อนย้ายสะดวก
อีกทั้งยังสามารถเก็บผลิตได้ง่าย ใช้เวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์ก็สามารถเก็บผลผลิตได้
วัสดุอุปกรณ์สำหรับการเพาะเห็ดฟางแบบดอนโดในตะกร้าพลาสติก
1. วัสดุเพาะเห็ดฟาง ได้แก่ ก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าเก่า
2. อาหารเสริม เช่น ผักตบชวาสดหรือแห้ง,เปลือกถั่วต่างๆ,ผักบุ้ง,มูลวัวแห้ง,มูลควายแห้ง,เศษฝ้าย,ไส้นุ่น,ชานอ้อย เป็นต้น
3. อุปกรณ์อื่นๆ ได้แก่ ชั้นวาง ถุงดำ ตะกร้าพลาสติก บัวรดน้ำ เชื้อเห็ดฟาง
วิธีการเพาะเห็ดฟาง
1) นำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าเก่าแกะถุงออกและบดให้แตกพอประมาณ
2) หัวเชื้อเห็ดฟาง 1
ก้อน แบ่งเป็น 2 กอง ใช้เพาะได้ 2 ตะกร้า
3) ใส่ก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าเก่าที่บดแล้วใส่ในตะกร้า
5-10 เซนติเมตร แล้วแต่ความสูงของตะกร้าที่ใช้ จากนั้นรดน้ำเพื่อเพิ่มความชื้น
4) อาหารเสริมต่างๆที่เลือกใช้ (เศษฝ้าย,ผักตบ,ชานอ้อย) แช่น้ำพอชื้น โรยบนก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าเก่า
2-3 เซนติเมตร อาหารเสริมจะใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือใช้ร่วมกันหลายๆอย่างก็ได้
5) โรยปุ๋ยคอกหรือขี้วัวบนอาหารเสริม
6) โรยเชื้อเห็ดฟาง
1
ส่วนที่แบ่งไว้ บนปุ๋ยคอกหรือขี้วัว
7) รดน้ำที่ตะกร้าเพื่อเพิ่มความชื้น คลุมด้วยถุงดำพลาสติก มัดปากถุง ปล่อยทิ้งไว้ 3 วัน
8) สถานที่ ควรอยู่ในร่ม,ร่มไม้หรือร่มสนิท ในช่วง 3 วันแรกรักษาอุณหภูมิในถุงดำให้อยู่ที่ 35-40 องศา เมื่อครบ 3 วัน เปิดถุงดำเพื่อดูการเจริญเติบโตของเส้นใย เมื่อเส้นใยเดินเต็มวัสดุจึงรดน้ำด้วยบัวฝอยเพื่อตัดเส้นใย หากพบว่าเส้นใยยังเดินน้อยให้ปิดไว้ต่ออีก 1 วัน
9) เปิดระบายอากาศ
แล้วคลุมไว้เหมือนเดิม อีก 3-4 วัน เมื่อเกิดตุ่มดอกแล้วรักษาอุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง
28-32 องศา ช่วงนี้เห็ดฟางจะเจริญเติบโตขึ้น เก็บผลผลิตได้
การดูแล
1. ในช่วง 1-4 วัน (ฤดูร้อนและฝน) ส่วนฤดูหนาว ช่วง 1-7
หรือ 8 วัน แรก ต้องควบคุม อุณหภูมิ
ภายในกระโจมหรือโรงเรือน ให้อยู่ในระดับ 35-40 องศาเซลเซียส
*หากอุณหภูมิสูงเกินไปให้เปิดช่องลมระบายอากาศด้านบนของโรงเรือนหรือใช้วัสดุพรางแสงคลุมหรือรดน้ำรอบกระโจมเพื่อลดอุณหภูมิ
*หากอุณหภูมิต่ำกว่ากำหนดต้องปิดช่องระบายอากาศให้มิดชิด
หมายเหตุ : ควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ ภายในกระโจม หรือโรงเรือน
ให้อยู่ในระดับ 80 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป
2. เมื่อถึงวันที่ 4 ในฤดูร้อนและฝน หรือวัน ที่ 5 ในฤดูหนาว ให้เปิดถุงดำ
อย่างน้อย 5-10 นาที
เพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศให้ใยเห็ดสร้างจุดกำเนิดดอกถ้าวัสดุเพาะแห้งเกินไปให้รดน้ำตามสมควร
ปกติรดน้ำเพียงเล็กน้อยจะเป็นการตัดเส้นใยเชื้อเห็ดซึ่งการตัดเชื้อใยเห็ดนี้เป็นการกระตุ้นให้เกิดการสร้างดอกเห็ดได้
โดยอาจใช้น้ำตาลกลูโคส 1 ช้อนกาแฟ ละลายกับน้ำ 1 ลิตร รดน้ำให้วัสดุเพาะ ด้วยก็ได้ ถ้าไม่แห้ง ก็ไม่ต้องรด หลังจากเปิดถุงดำเพื่อถ่ายเทอากาศแล้วต้องปิดถุงดำไว้เช่นเดิม
3.ระหว่างวันที่ 5-8 ต้องควบคุม
อุณหภูมิภายในโรงเรือนให้อยู่ระหว่าง 28-32 องศาเซลเซียส
โดยในช่ว ง 6-7 วัน
จะมีการรวมตัวของเส้นใยเป็นดอกเล็กๆจำนวนมากมาย
ช่วงนี้ห้ามเปิดพลาสติกหรือโรงเรือนบ่อยครั้งเพราะจะทำให้ดอกเห็ดฝ่อได้
4.การเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณวันที่ 8-9 ในฤดูร้อน หรือ
12-15 วันในฤดูหนาว
***หลังเก็บเกี่ยววัสดุเพาะยังสามารถนำไปทำปุ๋ยหมักเพื่อใช้ในลดตุ้นทุนการทำการเกษตรได้อีกด้วย
เอกสารอ้างอิง
- www.phetphichit.com (ฟาร์มเห็ดเพชรพิจิตร)
- www.tu.ac.th - https://human.srru.ac.th/2016/08/15/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%9F%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B0/
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น