ศสพ.ระยอง พืชสมุนไพรน่ารู้... "กระเจี๊ยบแดง" พืชรายได้เสริม

  กระเจี๊ยบแดง

กระเจี๊ยบแดงมีแหล่งผลิตสำคัญ ได้แก่ ลพบุรี สระบุรี ฉะเชิงเทรำ เป็นพืชส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ โดยนำไปใช้เป็นส่วนผสมสำคัญสำหรับ herbal tea และใช้ในอุสาหกรรมอาหาร บริโภคภายในประเทศ โดยใช้เป็นผลิตภัณฑ์ชำชง เครื่องดื่ม อุตสาหกรรมสีผสมอาหาร และอุตสาหกรรมอาหาร ได้แก่ เยลลี่ แยม ไอศกรีม ซอส ไวน์ นำหวาน เป็นต้น กระเจี๊ยบแดงมีชื่อสามัญ Jamaica sorrel , Roselle ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus sabdariffa L


สภาพพื้นที่ปลูก

- เจริญเติบโตได้ดีในเขตกึ่งร้อน อุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 18-35 องศาเซลเซียส

- ชอบอากาศร้อนหรือค่อนข้างร้อน ทนต่อความแห้งแล้ง และไม่ชอบนำขัง

- ขึ้นได้ในดินทุกชนิด แต่ที่เหมาะสมเป็นพิเศษ คือ ดินเนินเขา ดินสีแดง ดินควรมีความเป็นกรดด่าง ระหว่าง 6.6-6.8

- เจริญได้ดีในที่โล่งแจ้ง สภาพแสงแดดจัดเต็มวัน เป็นพืชที่ไวต่อแสง จะออกดอกเมื่อวันสั้น ดังนั้น จึงต้องการช่วงแสง 13 ชั่วโมง ในช่วงการเจริญเติบโต 4-5 เดือน และจะเริ่มออกดอกเมื่อมีอายุประมาณ 120 วัน

พันธุ์

1. การเลือกพันธุ์ : เลือกพันธุ์ที่มีกลีบเลี้ยงหนาอวบน้ำ ดอกสีแดงเข้ม ทนแล้งได้ดี

2. พันธุ์ที่นิยมปลูก : พันธุ์ซูดาน

การปลูก

1. การเตรียมดิน : ไถพรวนบนพื้นที่ราบแบบไม่ยกร่อง และปรับพื้นที่

2. การเตรียมพันธุ์ : ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

3. วิธีการปลูก : ปลูกโดยการหว่านหรือหยอดเมล็ด แต่เพื่อให้ได้กระเจี๊ยบแดงที่มีคุณภาพ และให้ผลผลิตสม่ำเสมอ ควรปลูกโดยการหยอดเมล็ด

3.1 วิธีการปลูกแบบหยอดเมล็ด โดยใช้เมล็ดลงปลูกหลุมละประมาณ 2-3 เมล็ด ระยะปลูก 1*1 เมตร แล้วกลบดินเล็กน้อย เมื่ออายุได้ 3-4 สัปดาห์ เป็นต้นอ่อนถอนให้เหลือหลุมละ 1 ต้น

3.2 ช่วงฤดูปลูก ประมาณเดือนกรกฎาคมสิงหาคม  

3.3 ข้อควรระวัง ในบริเวณที่ปลูกกระเจี๊ยบแดง ให้กำจัดดอกของหญ้าและวัชพืชที่จะปลิวใส่ดอกกระเจี๊ยบแดง เพราะจะทำให้เมล็ดและดอกหญ้าติดไปกับผลผลิต ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อการส่งออก 

 


การดูแลรักษา

1. การให้น้ำ ระยะ 1-2 เดือน ควรมีการให้น้ำสม่ำเสมอ หลังจากนั้นจะสามารถทนต่อความแห้งแล้งได้ดี

2. การใส่ปุ๋ย ควรใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ ในระยะแรกที่มีการปรับพื้นที่ปลูก หรือในช่วงที่เริ่มเจริญเติบโตอายุ 10-15 วัน และ 40-50 วัน ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เพราะถ้าใส่มากเกินไปจะทำให้ใบและฝักโตเร็วเกินไป และเป็นโรคง่าย

3. การกำจัดวัชพืช

3.1 ตากดินเพื่อทำลายเมล็ดวัชพืช

3.2 คราดส่วนขยายพันธุ์ของวัชพืชออกในระหว่างขั้นตอนของการเตรียมแปลงปลูก

3.3 การคลุมดินหลังการปลูกจะช่วยรักษาความชื้นของดิน และบังแสงสว่างไม่ให้วัชพืชงอกหรืองอกได้ช้ำ หรือใช้พลาสติกทึบแสงคลุมแปลงปลูก

3.4 ขุดทำลายหัวใต้ดินของวัชพืชบางชนิดทุกครั้งที่พบ พรวน ถากดิน และกำจัดวัชพืช ควรทำขณะที่ยังเล็ก โดยใช้การถอน

4. โรคและแมลง

โรคที่สำคัญ ได้แก่ โรคใบจุด โรคฝักจุด หรือฝักลาย โรคแอนแทรคโนส

การป้องกันกำจัด ใช้เชื้อบาซิลลัส ซับทิลิส (บีเอส) พ่นในอัตรา 30-50 กรัมต่อนำ 20 ลิตร

แมลงศัตรูพืชที่สำคัญ คือ หนอนกระทู้หอม หนอนเจาะสมอฝ้าย เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่นฝ้าย

การป้องกันกำจัด ใช้เชื้อ BT (Bacillus thruringiensis) ในอัตรา 60-80 กรัมต่อนำ 20 ลิตร หรือใช้สารธรรมชาติ เช่น เมล็ดสะเดา พ่นในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อนำ 20 ลิตร หรือพ่นด้วยสารเคมีตามคำแนะนำและอาจปล่อยแมลงศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูพืช เช่น แมลงช้างปีกใสและด้วงเต่าตัวหำ

ที่มา : สํานักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร

การเก็บเกี่ยว

1. ระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม : เก็บเกี่ยวประมาณเดือนพฤศจิกายนธันวาคม

2. วิธีการเก็บเกี่ยว : สำหรับการเก็บเกี่ยวกระเจี๊ยบแดงทำได้ 2 วิธี ดังนี้

2.1 เก็บเกี่ยวเฉพาะดอกกระเจี๊ยบแดง โดยใช้กรรไกรหรือมีดตัดเฉพาะดอกที่แก่ แล้วใส่ในภาชนะ ที่มีวัสดุรอง เพื่อป้องกันไม่ให้ดอกชำ แล้วจึงขนย้ำยออกจากแปลง

2.2 เก็บเกี่ยวทั้งต้น โดยใช้เคียวเกี่ยวกิ่งที่มีดอกบริเวณโคนกิ่ง วิธีนี้ จะเก็บเกี่ยวได้รวดเร็ว แต่ดอก อาจหลุดร่วงระหว่างขนย้าย การเก็บเกี่ยวดอกกระเจี๊ยบแดง ควรทำให้เสร็จภายใน 48 ชั่วโมง ตั้งแต่เริ่มเก็บเกี่ยวจนนำไปตากให้แห้ง เพื่อจะได้แทงเมล็ดออกจำกกลีบเลี้ยงได้ง่าย

การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวและเก็บรักษา

1. การแปรรูปหลังการเก็บเกี่ยว : โดยดำเนินการหลังการเก็บเกี่ยว ดังนี้

1.1 นำดอกกระเจี๊ยบแดงที่ได้ไปแทงเมล็ดออก โดยใช้เหล็กกระทุ้ง ซึ่งเป็นแท่งโลหะกลวงปลายหยักแทงบริเวณขั้วให้เมล็ดหลุดออกจำกกระเปาะหุ้มเมล็ด ส่วนที่เหลือเป็นส่วนของกลีบเลี้ยง หรือกลีบดอกของดอกกระเจี๊ยบแดง และนำกลีบดอกที่กระทุ้งได้ไปตากแดดนาน 4-7 วัน จนแห้งสนิท

1.2 การตากกระเจี๊ยบแดง ควรตากบนชั้นให้สูงจากพื้นดินประมาณ 60-70 เซนติเมตร และคลุมด้วยผ้าขาวบาง เพื่อป้องกันดอกหญ้า และเศษวัชพืช ปลิวไปปะปนกับกระเจี๊ยบแห้ง

2. การเก็บรักษา

2.1 นำกระเจี๊ยบแดงที่อบแห้งสนิทบรรจุถุงพลาสติกใส และปิดปากให้สนิท เขียนฉลากปิดถุงให้เรียบร้อย นำเข้าจัดเก็บในห้องที่สะอาด เย็น ไม่อับชื้น ป้องกันแสงแดดมากระทบ

2.2 หมั่นคอยดูแลและระวังไม่ให้มีเชื้อราหรือแมลงเข้าไปทำให้คุณภาพกระเจี๊ยบแดงลดลง

2.3 กระเจี๊ยบแดงแห้งที่จัดเก็บไว้อายุเกิน 3 เดือน ควรจะมีการนามาอบใหม่อีกครั้งเพื่อไม่ให้มีความชื้น และโรคแมลงเข้าทำลาย

สุขลักษณะและความสะอาด

1. ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี ด้วยการปลูกพืชแบบผสมผสาน หรือหากต้องการใช้ ควรใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อไม่ให้มีสารพิษตกค้างในวัตถุดิบ และสิ่งแวดล้อม

2. ควรรักษาแปลงปลูกสมุนไพรให้ถูกสุขลักษณะและสะอาดอยู่เสมอ

3. กำจัดวัชพืช เพื่อไม่ให้แข่งขันกับพืชหลัก หรือเป็นแหล่งเพาะศัตรูพืชซึ่งอาจติดไปกับผลผลิต

4. หลังการตัดแต่ง ควรนำเศษพืชไปทิ้งนอกแปลง หรือทำลายเสีย

5. หลังการพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ต้องทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ เผากำจัดวัสดุเหลือใช้ และกำจัดภาชนะบรรจุให้ถูกวิธี

6. เก็บรักษาวัสดุทางการเกษตร เช่น ปุ๋ย สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำการเกษตรกรรมให้เรียบร้อยปลอดภัยอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน





ที่มาข้อมูล : สํานักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร

ความคิดเห็น