ศสพ.ระยอง แบ่งปันแนวทางการเพาะเมล็ดโกโก้

โกโก้ Cacoa 
ชื่อวิทยาศาสตร์ Theobroma cacao L. 
วงศ์ชบา MALVACEAE
-----------------------------------


โกโก้ เข้ามาปลูกในประเทศไทยครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2446 และเมื่อปี พ.ศ. 2495 
กรมกสิกรรมในสมัยนั้นได้ทดลองนำมาปลูกทดสอบในพื้นที่ต่างๆ ได้แก่ สถานีกสิกรรมบางกอกน้อย กรุงเทพฯ สถานีกสิกรรมพลิ้ว จังหวัดจันทบุรี สถานียางคอหงส์ จังหวัดสงขลา และสวนยางนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 กรมกสิกรรมได้นำโกโก้พันธุ์ลูกผสม Upper Amazon จากประเทศมาเลเซียมาปลูกที่สถานียางในช่อง จังหวัดกระบี่ รวมทั้งได้มีการรวบรวมพันธุ์โกโก้จากแหล่งปลูกต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ มาปลูกที่ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร ตั้งแต่ปี 2522 จนถึงปัจจุบัน รวมจำนวนทั้งสิ้น 34 พันธุ์ (1)

การเลือกสภาพพื้นที่ปลูกโกโก้ 
สภาพพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการทำสวนโกโก้ ลักษณะดินควรเป็นดินร่วนปริมาณอินทรียวัตถุในดินสูง หน้าดินลึก การระบายน้ำในดินล่อนข้างดี สภาพความเป็นกรดเป็นด่าง (pH)
อยู่ระหว่าง 5.5-7.0 และปริมาณน้ำฝนควรตกกระจายสม่ำเสมอ 
อยู่ระหว่าง 1,500-2,000 มิลลิเมตรต่อปี 

การปลูกโกโก้ : ทำได้ 2 ระบบ คือ
1. ปลูกเป็นพืชเดี่ยว การปลูกวิธีนี้ไม่นิยมปลูก เนื่องจากมีความยุ่งยากเพราะจะต้องดูแลทั้งโกโก้และพืชร่มเงา ซึ่งในระยะแรกที่ปลูกโกโก้จำเป็นต้องสร้างร่มเงาให้โกโก้ก่อนแล้วจึงตัด
ร่มเงาเหล่านั้นออกในภายหลัง
2. ปลูกเป็นพืชแซมในสวนมะพร้าว และไม้ผลโกโก้เล็กหรือโกโก้ที่อยู่ในระยะก่อนให้ผลผลิต ต้องการแสงแดดประมาณ 30% และต้องการมากขึ้นประมาณ 60-70% 
เมื่อโกโก้ตกผลแล้ว

ชนิดของพืชร่มเงา
ร่มเงาชั่วคราว : กล้วย แคฝรั่ง กระดินยักษ์
ร่มเงาถาวร : มะพร้าว สะตอ แคฝรั่ง

ระยะปลูก
 การปลูกโกโก้แชมในสวนมะพร้าว โดยทั่วไปนิยมปลูก 3x3 เมตร ในสวนมะพร้าวที่ไช้ระยะปลูกตั้งแต่ 8.5 x 8.5, 9.0x9.0, 10.0x10.0 เมตร จะได้ต้นโกโก้ประมาณ 120-150 ต้น

การเตรียมหลุมปลูก
ขนาดหลมปลูกโกโก้ ควรขุดลึกประมาณ 50x50x50 เซนติเมตร รองกันหลุมด้วย
กาบมะพร้าว เพื่อช่วยให้ อุ้มน้ำในดินดีขึ้นและใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟต ประมาณ 200 กรัม
ในสภาพที่มีความสมบูรณ์ต่ำควรใส่ปุ๋ยคอกผสมกับดินปลูกประมาณ หลุมละ 2-3 กิโลกรัม 

การกำจัดวัชพืช
โดยเฉพาะในระยะ 1-2 ปีแรก วัชพืชจะขึ้นมากควรกำจัดวัชพืชรอบบริเวณทรงพุ่มออกให้หมดเมื่อโกโก้โตเต็มที่ปัญหาวัชพืชจะหมดไป

การตัดแต่งกิ่ง
เป็นสิ่งจำเป็นเพราะลดการระบาดของโรค และแมลงและทำให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้น
ในระยะ 5-6 เดือน หลังปลูกโกโก้จะแตกกิ่งอ่อนบริเวณโคนต้นและบริเวณลำต้น
ต้องหมั่นตัดกิ่งเหล่านี้ออกเพื่อเลี้ยงลำต้นเพียงต้นเดียว เมื่อโกโก้สูงประมาณ
1.20-1.50 เมตร เริ่มปล่อยโกโก้แตกคาคบจากจุดคาคบนี้จะมีกิ่งข้างหรือกิ่งแฟน (Fan)
แตกออกตัดกิ่งข้างให้เหลือเพียง 3 กิ่ง หากโกโก้แตกคาคบต่ำกว่านี้ควรตัดทิ้ง
ปล่อยให้โกโก้แตกกิ่งกระโดงใหม่เลี้ยงกิ่งกระโดงใหม่เพื่อให้
แตกคาคบในระดับที่ต้องการ บริเวณกิ่งข้างจะมีกิ่งแขนงแตก
ออกในปีแรก ให้ตัดถึงแขนงในช่วง 6 นิ้วแรกจากจุดคาคบ ออกให้หมดในปีที่ 2 
จะขยายเนื้อที่เป็น 8 12 นิ้ว จากจุดคาคบ และให้เว้นกิ่งแขนงที่บดบังคาคบไว้บ้าง
เพื่อป้องกันไม่ให้เปลือกแตกซึ่งจะเป็นเหตุให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ 

การให้น้ำ
โกโก้เป็นพืชที่ชอบอากาศค่อนข้างชุ่มชื้นในช่วงฤดูแล้ง
ถ้าฝนทิ้งช่วงนานกว่า 3 เดือนจะต้องให้น้ำ 

โรคและแมลงศัตรูโกโก้
โรคที่สำคัญ
1.รคกิ่งแห้ง หรือโรควีเฮสดี เกิดจากเชื้อรา Oncobosidium theobromae ลักษณะของโรค ปลายยอดจะแห้ง บริเวณนี้จะเกิดตาข้างแตกออกมากแต่จะเน่าตายก่อนพัฒนาเป็นกิ่ง
เมื่อผ่าดูจะปรากฎเป็นเส้นสีน้ำตาลตามแนวยาวของเนื้อไม้หลายเส้น
การป้องกันกำจัดให้ตัดบริเวณที่เป็นโรคออกโดยตัดให้เลย เข้าไป 1 ฟุต
เพื่อป้องกันมีให้เชื้อราลุกลามไปบริเวณส่วนอื่น
2. โรคผลเน่าดำ เกิดจากเชื้อรา Phytophthoro Sp. เข้าทำลายส่วนของผล เกิดแผลสีน้ำตาลเข้มจนเกือบดำ ลักษณะฉ่ำน้ำลุกลามไปทั่วผล การป้องกันกำจัด ตัดแต่งกิ่งให้โปร่งเพื่อลดร่มเงา เก็บผลโกโก้สุกออกให้หมด เพื่อลดแหล่งสะสมโรคหลีกเลี่ยงการให้น้ำแบบสปริงเกอร์
เพราะความชื้นจะช่วยให้โรคเกิดการแพร่ระบาคเร็วขึ้น ฉีดพ่นด้วยสาร คูปราวิท คอปเปอร์ออกชีคลอไรด์คอปปีไซต์ 2 สัปดาห์ต่อครั้ง

แมลงศัตรูโกโก้
1. มวนโกโก้ (Helopeltis sp.) ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ของแมลงชนิตนี้จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อนและผลอ่อน 
การป้องกันกำจัด เผาทำลายผลโกโก้ที่ตกค้างอยู่ตามต้นให้ หมดพนด้วยหารเคมีจำาพวกเซฟวินอสส์ อโจครินธีโอตาน สลับกันห่างกันประมาณ 7-10 วัน ในช่วงฤดูฝนที่มวนโกโก้ระบาด
2. ด้วงกินใบ ที่พบส่วนใหญ่ ไต้แก่ ด้วงกุหลาบ ด้วงงวง แมลงค่อมทอง
การป้องกันการกำจัด ฉีดพ่นด้วยสารเคมีจำพวกเซฟวินอโซคริน ทุก 7-10 วัน ช่วงระบาด
3. เพลี้ยแป้ง ตัวอ่อนจะเข้าดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณตายอดและผลโกโก้ ทำให้เป็นจุดสีเหลืองและสีน้ำตาล การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยสารเคมี จำพวกมาลาไธออนหรือ ไดอะชีโนน ผสมไวท์ออย

สัตว์ศัตรูโกโก้ 
นอกเหนือจากแมลงที่คอยทำลายโกโก้ แล้วยังมีสัตว์ประเภทฟันแทะที่คอยทำลายผลโกโก้ เช่น กระรอก หนู ชะมด ลิง กระแต่ ค้างคาว เป็นต้น

วิธีการเก็บผลโกโก้
ใช้มีดตัดขั้วผล ไม่ควรปลิดผลด้วยมือ เพราะจะทำลายตาดอกซึ่งโกโก้จะมีตาดอกออกจากบริเวณตาเก่าเสมอ

การหมักโกโก้
เก็บรวบรวมฝักโกโก้อย่างน้อย 7 วันเพื่อให้ได้ผลโกโก้มากพอและช่วยลดปริมาณน้ำในผล หากรวบรวมฝักได้มากพอสามารถดำเนินการหมักได้เลย โดยใช้ไม้ทุบผลโกโก้หรือใช้มีดผ่า
ผล แกะเมล็ดดึงไส้ที่ติดกับเมล็ดออก นำเมล็ดไปผึ่งแดดนาน 3 4 ชั่วโมง ก่อนนำลงหมักในภาชนะหมัก ภาชนะจะต้องมีช่องระบายของเหลวที่เกิดจากการสลายตัวของเยื่อหุ้มเมล็ด ปริมาณที่หมัก ไม่ควรน้อยกว่า 40 กก.(ลังไม้) หากเป็นเข่งไม่ควรน้อยกว่า 60 - 80 กก.
หมักนาน 6 วัน โดยมีการกลับทุกวันใน 3 วันแรก ด้านบนปิดด้วยกระสอบหลายๆ ขั้น
เพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อน จากนั้นนำไปตากแดดหรีออบแห้ง
อุณหภูมีไม่เกิน 80 องศาเชนติเกรด นาน 1-1.5 วัน (2)


วิธีการเพาะเมล็ดโกโก้
1.เลือกเก็บผลที่มีสีเหลืองอมน้ำตาล ในระยะนี้จะมีรากออกมาเล็กน้อยเเล้ว
จึงเหมาะแก่การนำไปเพาะเมล็ด


2. นำมาผ่า แล้วเเยกเมล็ด 1 ผลจะมีเมล็ดประมาณ 30-40 เมล็ด แล้วนำไปแช่น้ำไว้ 1 คืน เพื่อให้ง่ายต่อการล้างเมือกที่หุ้มเมล็ดออกในวันถัดไป



2. นำเมล็ดที่เเช่น้ำไว้ มาถูกับตาข่ายจะสามารถกำจัดเมือกได้เร็วขึ้นเเละสะอาดกว่า
ล้างด้วยน้ำให้สะอาดแล้วนำไปผึ่งลมให้แห้งพอแห้ง หากเมล็ดยังชื้นอยู่จะยิ่งดึงดูดให้มดทำลายเมล็ดเนื่องจากเมือกขาว ๆ ที่หุ้มเมล็ดมีรสชาติหวาน





3. เตรียมวัสดุปลูก ประกอบด้วย ขี้เถ้าแกลบเก่า : แกลบดิบ : ดิน : ปุ๋ยคอกมูลวัว ที่อัตราส่วน 1:1:1:1 ผสมให้เข้ากัน รดน้ำให้ดินพอหมาด กรอกดินลงถุง เหลือพื้นด้านบนไว้ประมาณ 20% นำเมล็ดที่ได้วางลงบนดิน 1 เมล็ด แล้วกลบด้วยวัสดุปลูกไว้บางๆ



4. การดูแลรักษา ประพรมน้ำพอชุ่มห้ามมากเกินไปและน้อยเกินไปจะทำให้เมล็ดเน่าได้ ประมาณ 3 สัปดาห์จะเริ่มเเทงใบ เริ่มบำรุงด้วยปุ๋ยสูตร 15-15-15 เมื่อมีฉัตรแรก
ใบมีลักษณะไม่แก่ไม่อ่อนเกินไป อย่าลืมรดน้ำล้างใบตามด้วย อายุ 2-3 เดือนจึงจะสามารถย้ายลงหลุมปลูกได้



ที่มา: (1) https://www.technologychaoban.com
       (2) ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ภาพและเรื่อง:  นางสาวชื่นจิต ขัติทะเสมา 

ความคิดเห็น