ศสพ.ระยอง ชวนเฝ้าระวัง "การระบาดของไรแดงแอฟริกันในทุเรียน"
จากลักษณะอากาศที่ร้อน
แห้งแล้งและมีลมพัดแรงในช่วงเดือนธันวาคมนี้ จะเป็นช่วงเวลาที่มักพบการระบาดของ
ไรแดงแอฟริกันได้ในทุเรียน
และไรแดงแอฟริกันสามารถเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็วจนสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงต่อทุเรียนถ้าไม่มีการระวังป้องกันที่ดี
โดยไรแดงแอฟริกันจะเข้าทำลายใบเพสลาดและใบแก่ด้วยการดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณด้านบนใบพืช
ทำให้ใบทุเรียนสูญเสียคลอโรฟิลล์ ใบจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นซีดเหลือง
ไม่เขียวเป็นมันเหมือนใบปกติ และมีลักษณะคล้ายผงฝุ่นสีขาวอยู่ทั่วใบและหากปล่อยให้เกิดการระบาดเป็นระยะเวลานานจะส่งผลให้ใบทุเรียนหลุดร่วง
ต้นทุเรียนหยุดชะงักการเจริญเติบโต และมีผลต่อการติดดอกและติดผลของทุเรียนได้
แนวทางการจัดการไรแดงแอฟริกัน
1. 1. กำจัดวัชพืชที่อาจเป็นแหล่งหลบซ่อนของไรแดงแอฟริกัน
2. 2. หลีกเลี่ยงการปลูกพืชอาศัยของไรแดงแอฟริกัน
ได้แก่
· ไม้ผล
เช่น ส้มเขียวหวาน ส้มโอ มะนาว มะกรูด ส้มจีน มะละกอ ขนุน สาเก ท้อ มะกอกฝรั่ง
· พืชผัก
เช่น ขี้เหล็ก มะรุม ถั่วพู ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา แตงโม ตำลึง ผักบุ้ง
· พืชไร่
เช่น ฝ้าย ถั่วเหลือง มันสำปะหลัง ละหุ่ง
· ไม้ดอกไม้ประดับ
เช่น ฝ้ายคำ ลีลาวดี กุหลาบ บานชื่น ชบา แคฝรั่ง
3. 3. หมั่นตรวจดูต้นทุเรียนอย่างใกล้ชิด
ซึ่งไรแดงแอฟริกันสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรือใช้แว่นขยายขนาดกำลัง 10
เท่า
4.
การใช้สารเคมีกำจัดไร
ซึ่งไม่ควรฉีดพ่นสารชนิดเดียวกันติดต่อเป็นเวลานาน
เพื่อป้องกันไรสร้างความต้านทานต่อสารฆ่าไร สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดได้แก่ โพรพาไกต์
อะมิทราซ เฮกซี-ไทอะซอกซ์ หรือ อีมาเมกตินเบนโซเอต เป็นต้น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น