ศสพ.ระยอง ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการสนับสนุนการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

    วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน 2565  เวลา 13.30 น. นายวัลลภ จันทร์งาม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดระยอง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการสนับสนุนการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EECi ระหว่าง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และ องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) พร้อมด้วย นายปิยะ ปิตุเตชะ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง เป็นตัวแทนหน่วยงานลงนาม ณ อาคารสำนักงานใหญ่ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation (EECi) Headquarters วังจันทร์วัลเลย์ อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง  พร้อมทั้งเข้าเยี่ยมชมศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน และ Plant Factory  โดยได้บรรยายเกี่ยวกับโรงเรือนอัจฉะริยะ ระบการทำงานเป็นประสานการทำงานระหว่างเทคโนโลยีดิจิทัลและระบบอัตโนมัติเข้าด้วยกัน สามารถตรวจสอบการทำงานของพืชที่ตอบสนองต่อสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไปทั้งในสภาพโรงเรือนที่ควบคุมสภาวะแวดล้อมได้ที่ช่วยประหยัดเวลา พื้นที่ งบประมาณ รวมทั้งการตรวจวัดไม่ทำลายตัวอย่างทำให้ลดการสูญเสียพืช และในสภาพแปลงเปิดที่มีสภาพแวดล้อมใกล้เคียงสภาพการปลูกจริง ซึ่งเป็นเงื่อนไขความสำเร็จที่สำคัญของการร่นระยะเวลาและเพิ่มความแม่นยำของการการปรับปรุงพันธุ์ให้ได้ลักษณะดีเด่นเร็วขึ้นให้ทันกับความต้องการของตลาดและเกษตรกร  พืชที่ได้ทำการลองได้แก่ใบบัวบกและกระชายดำ โดยระบบดังกล่าวสามารถผลิตใบบัวบกได้ปริมาณมากขึ้นถึง 4 เท่าจากการผลิตในแปลงทั่วไปแลัสามารถร่นระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้นอีกด้วย และการขยายพันธุ์กระชายดำ โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแบบระบบ Bioreactor แบบกึ่งจม โดยได้ต้นแม่พันธุ์ที่ปลอดโรคและสามารถผลิตได้ในปริมาณมากกว่าวิธีการขยายพันธุ์แบบปกติ

    โดยศูนย์ส่งเสริมเเละพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดระยอง ซึ่งมีบทบาทภารกิจ ในการถ่ายทอดองค์ความรู้อาชีพด้านการเกษตร คาดว่าจะมีการร่วมมือกันเกี่ยวกับองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านการเกษตร เพื่อนำไปถ่ายทอดให้กับเกษตรกรหรือผู้ที่สนใจในอนาคต

EECi ประกอบด้วย 4 เมืองนวัตกรรมขนาดใหญ่ เป็นแพลทฟอร์มสนับสนุนอุตสาหกรรมมุ่งเป้า ดังนี้
        
1. เมืองนวัตกรรมชีวภาพ (EECi BIOPOLIS) 
        2. เมืองนวัตกรรมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (EECi ARIPOLIS) 
        3. เมืองนวัตกรรมอาหาร (FOOD INNOPOLIS) 
        4. เมืองนวัตกรรมการบินและอวกาศ (SPACE INNOPOLIS) 
รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์สำคัญที่จะจัดตั้งในพื้นที่ EECi อย่าง เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน ระดับพลังงาน 3 GeV เป็นศูนย์กลางวิจัยด้านแสงซินโครตรอนชั้นแนวหน้าในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในอนาคต มุ่งเน้นงานวิจัยด้านการแพทย์ เกษตร อุตสาหกรรม และอื่นๆ






















ข่าว/ภาพ : ชื่นจิต ขัติทะเสมา

ความคิดเห็น