ศสพ.รย. เข้าร่วมประชุมประจำเดือนสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง ครั้งที่ 4/2563

       


วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 นำโดย นายณัทธร รักษ์สังข์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดระยอง และนายณัฐศิษฏ์ ลอยผา นักวิชาการส่งเสริมการเษตรชำนาญการ  เข้าร่วมประชุมประจำเดือนสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง ครั้งที่ 4/2563 โดยมีนายดำรงฤทธิ์ หลอดคำ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง เป็นประธานการประชุม ได้ชี้เเจงผลการดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดระยอง ประเด็นรายผลการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2564  งบดำเนินงาน จำนวน 366,180.79 บาท จาก จำนวน 1,585,800 บาท คิดเป็นร้อยละ 23  งบโครงการส่งเสริมการเกษตร จำนวน 1,939,000 บาท จำนวน 8 โครงการ 21 กิจกรรม โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณแบ่งเป็น 2 ครั้ง ยอดการจัดสรรงบประมาณ ครั้งที่ 1 จำนวน  1,270,000บาท  ครั้งที่ 2  จำนวน  669,000 บาท  โดยมีแผนเบิกจ่ายไตรมาส 1 เบิกจ่ายรวม 453,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 35.67 ของงบประมาณครั้งที่ 1 ประเด็นรายงานผลการเข้าร่วมประชุมหารือศูนย์สาขาของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมากจากพระราชดำริ ครั้งที่ 1/2563 วันที่ 16 กันยายน 2563 ที่ผ่านมาใน การดำเนินงานของศูนย์สาขาของศูนย์ศึกษาฯ ประจำปีงบประมาณ 2563 ด้านการบริหารจัดการ แบ่งงานและความรับผิดชอบออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่  ด้านข้าว, ด้านพืชสวน, ด้านปศุสัตว์, ด้านประมง, ด้านพัฒนาที่ดิน และด้านวิชาการเกษตร โดย ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดระยอง เป็นหน่วยงาในประสานการดำเนินงานทั้ง 6 ด้าน ด้านการขยายผล จัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเกษตรกร จัดฝึกอบรมให้แก่เกษตรกร และแจกปัจจัยการผลิต ร่วมกิจกรรมต่างๆ ของจังหวัดตามที่ขอรับการสนับสนุน ด้านบุคลากร/งบประมาณ ได้รับการสนับสนุนบุคลากรในจังหวัดจากหน่วยงานร่วมต่างๆ สำหรับงบประมาณได้รับสนับสนุนจาก สำนักงาน กปร. และจังหวัด ในเรื่องการปรับตัวการพัฒนาของศูนย์สาขาของศูนย์ศึกษาฯ ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ให้สอดรับกับชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ประเด็นแผนการผลิตปัจจัยการผลิต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีการผลิตขยายพันธุ์พืช จำนวน 17 ชนิดได้แก่พืชผัก และไม้ผลหลากชนิด เช่น มะกรูด, มะนาว, ขนุน, พริก, มะเขือ เเละเน้นการผลิต ผักเหลียง เป็นหลักเนื่องจากในจังหวัดพื้นรับผิดชอบมีความต้องการสูง รวมทั้งสิ้น จำนวน 60,500 ต้น ในส่วนของการพัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์ ฐานเรียนรู้ต่างๆ ได้ดำเนินการให้มีพร้อมในการให้บริการตามภารกิจอยู่ตลอดเวลา

ความคิดเห็น